"การมีใครสักคนช่วยดูแลคุณด้วยความเข้าใจคือสิ่งสำคัญในการใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข" คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้ความสำคัญต่อความหลากหลายทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลข้ามเพศ ซึ่งในอดีตสังคมยังไม่ยอมรับเรื่องเหล่านี้และมองว่าการเบี่ยงเบนทางเพศหรือการแปลงเพศเป็นเรื่องผิดธรรมชาติและผิดบรรทัดฐานของสังคม แต่ในทางการแพทย์สมัยใหม่ไม่ถือว่าความหลากหลายทางเพศเป็นความผิดปกติของทั้งร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม และยังได้ส่งเสริมให้บุคคลข้ามเพศเหล่านั้นได้เกิดความรู้ความเข้าใจในอัตลักษณ์ทางเพศของตนเอง ตลอดจนสนับสนุนด้านการดูแลรักษาที่ปลอดภัยให้แก่บุคคลเหล่านั้นในการเปลี่ยนแปลงสภาพร่างกายตามความปรารถนาของตนเอง ได้แสดงตัวตนของตนเองออกมาอย่างเปิดเผย และดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุขในสังคม SMC ได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา อาทิ สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา อายุรศาสตร์ ศัลยกรรม จิตเวช และกุมารเวชกรรมจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเปิด "คลินิกสุขภาพบุคคลข้ามเพศ" (TW Clinic) ให้บริการแก่บุคคลข้ามเพศโดยเฉพาะ ช่วยให้บุคคลข้ามเพศได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ อัตลักษณ์ทางเพศ และสุขลักษณะทางเพศ จากบริการที่ครบวงจร |
วัน เวลา | จันทร์ | อังคาร | พุธ | พฤหัสบดี | ศุกร์ |
---|---|---|---|---|---|
เช้า | |||||
บ่าย | |||||
นอกเวลา (16.00 - 20.00 น.) | ผศ.พญ.ปัทมา อ.นพ.เจน ผศ.พญ.ภาพันธ์ อ.นพ.ภัทร ผศ.นพ.สุรณัฐ ผศ.พญ.กุศลาภรณ์ |

อ.นพ.เจน โสธรวิทย์
สูตินรีแพทย์
“สุขภาพสตรีมีความสำคัญ การวางแผนมีบุตร การรับฮอร์โมน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ”

อ.นพ.ภัทร วิรมย์รัตน์
กุมารแพทย์

ผศ.พญ.ภาพันธ์ วัฒนวิกย์กิจ
จิตแพทย์

ผศ.พญ.ปัทมา ปัญญาวงศ์
ศัลยแพทย์ตกแต่ง

ผศ.พญ.กุศลาภรณ์ ชัยอุดมสม
จิตแพทย์

ผศ.นพ.สุรณัฐ เจริญศรี
อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
ถาม – ตอบเกี่ยวกับคลินิกสุขภาพบุคคลข้ามเพศ
A: คือ คลินิกที่มุ่งเน้นการดูแลบุคคลข้ามเพศทุกวัย เพื่อเป้าหมายให้ผู้รับบริการเข้าใจในอัตลักษณ์ทางเพศของตนและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายตามที่ต้องการอย่างปลอดภัยทั้งกายและจิตใจ ด้วยการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาแบบครบวงจร
A: บุคคลข้ามเพศ (Transgender person) หมายถึง บุคคลที่มีเพศสภาพ อัตลักษณ์ทางเพศ หรือ การรับรู้ตัวตนทางเพศ ต่างจากเพศกำเนิดหรือเพศทางชีววิทยา ยกตัวอย่างเช่น บุคคลที่มีเพศกำเนิดเป็นชาย แต่มีอัตลักษณ์ทางเพศหรือตัวตนทางเพศเป็นหญิง จะเรียกว่า ผู้หญิงข้ามเพศ เป็นต้น
A: แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาและบริการในคลินิก ประกอบไปด้วย
- จิตแพทย์ทั่วไปและจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ทำการประเมิน วินิจฉัย ออกใบรับรองแพทย์การประเมินเพศสภาพและให้คำปรึกษา ทุกช่วงอายุของผู้รับบริการ
- กุมารแพทย์ด้านต่อมไร้ท่อ ให้คำปรึกษาและให้ฮอร์โมนเพื่อข้ามเพศสำหรับผู้รับบริการที่เป็นเด็กและวัยรุ่นอายุน้อยกว่า 18 ปี
- อายุรแพทย์ด้านต่อมไร้ท่อ ให้คำปรึกษาและให้ฮอร์โมนเพื่อข้ามเพศสำหรับผู้รับบริการที่อายุ 18 ปีขึ้นไป
- สูตินรีแพทย์ ให้คำปรึกษาและให้ฮอร์โมนเพื่อข้ามเพศ รวมถึงการผ่าตัดทางนรีเวชที่เกี่ยวข้อง สำหรับผู้รับบริการที่อายุ 18 ปีขึ้นไป
- ศัลยแพทย์ตกแต่ง ให้คำปรึกษาและผ่าตัดเพื่อข้ามเพศ ได้แก่ การผ่าตัดหน้าอก การผ่าตัดแปลงเพศ เป็นต้น